อย่าไปยึดกับคำว่างานเลือกเราไม่ใช่เราเลือกงานเราเองก็มีสิทธิที่จะเลือกงานได้เหมือนกันการสัมภาษณ์งานเป็นช่วงเวลาที่น้ายจ้างและอนาคตลูกจ้างจะได้มาพบปะกันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ต่างฝ่ายต่างอยากรู้จากอีกฝ่ายด้วยกันซึ่งจะเป็นตัวช่วยตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายจะยอมทำงานร่วมกันหรือไม่เหมือนกับการค้าขายผู้ซื้อต้องเต็มใจซื้อและผู้ขายต้องเต็มใจขายจึงจะทำให้เกิดการค้าขายขึ้นมาได้ไม่มีใครสามารถบังคับใครได้การจ้างงานก็คล้ายๆกันต้องเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่ายถ้านายจ้างสนใจจ้างเราแต่เราไม่อยากทำงานร่วมด้วยการจ้างงานก็จะไม่เกิดขึ้นกลับกันถ้าเราสนใจทำงานแต่นายจ้างไม่ยินดีรับเราการจ้างงานก็ไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันดังนั้นการสัมภาษณ์งานจึงเป็นโอกาสที่ให้ทั้งสองฝ่ายมาพบปะกันทำความรู้จักซึ่งกันและกันเบื้องต้นเราจะได้รู้ว่างานที่ต้องทำเป็นอย่างและบรรยากาศของบริษัทเป็นอย่างไรฝ่ายนายจ้างก็จะได้รู้นิสัยและลักษณะการทำงานของเราซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์
ฝ่ายลูกจ้างไม่ควรคิดว่าตัวเองเป็นแค่ตัวเลือหนึ่งของงานแต่ต้องคิดว่าเราสามารถเลือกทำงานอะไรก็ได้ที่ความสามารถเรานั้นเหมาะสมเราสามารถปฏิเสธนายจ้างได้ถ้าเราเกิดไม่พอใจในข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ยุติธรรมไม่เหมาะสมกับความสามารถที่เรามีการสัมภาษณ์งานจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่เราจะสอบถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับตัวเราให้เราถามสิ่งต่างๆให้ละเอียดให้หายสงสัยในเรื่องต่างๆเพื่อเป็นตัวช่วยในการประกอบการตัดสินใจเข้าทำงาน
โดยปกติแล้วการสัมภาษณ์งานทางบริษัทจะบอกขอบเขตงานที่เราต้องทำให้คุณเข้าใจถึงการทำงานว่าทำอะไรบ้างแล้วก็จะมีช่วงให้คุณถามคำถามในเวลาช่วงนั้นถ้าเรามีข้อสงสัยใดๆก็ตามให้เราถามให้หมดให้ละเอียดในสิ่งที่เราสงสัยหรือต้องการรู้เพราะจะมีโอกาสแค่ครั้งเดียวเท่านั้นอาจจะถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่บริษัทบอกเรามาถือถามเกี่ยวกับบรรยากาศการทำงานเวลาเลิกงานหรือเวลาเริ่มทำงานวัฒนธรรมขององค์กรสิ่งที่ไม่สามารถหาได้จากภายนอกต้องเป็นคนภายในเท่านั้นถึงรู้เป็นต้นแต่ไม่ควรถามจนเกินพอดีเพราะจะกลายเป็นว่าเราเป็นคนสัมภาษณ์งานมากกว่าถูกสัมภาษณ์ถ้าเกิดเรารู้ข้อมูลต่างๆแล้วเราไม่ค่อยชอบหรือไม่ถูกชะตาเราก็สามารถปฏิเสธได้เพียงเลือกใช้คำที่เหมาะสมเช่นขอนำข้อเสนอไปพิจารณาก่อนค่อยมาให้คำตอบเป็นต้นให้บอกเหตุผลเป็นไปตามความเป็นจริงการปฏิเสธไม่ใช่เรื่องผิดถ้าเกิดเราบอกเหตุผลที่ไม่เป็นความจริงแล้วบริษัทแก้ไขปัญหาให้เพราะเขาอยากได้เรามาทำงานจริงๆจะกลายเป็นว่าบริษัทแก้ไขปัญหาให้เราผิดจุดซึ่งส่งผลเสียต่อเราเอง
ความจริงเป็นสิ่งที่เราสมควรพูดมากกว่าการโกหกหากมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะอะไรให้พูดไปเลยไม่ต้องกลัวเพราะเรามีสิทธิที่จะถามดีกว่าปล่อยให้เราเข้าไปทำงานแล้วยังสงสัยคาใจแต่ไม่โอกาสได้ถามการพูดความจริงทำให้แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดทำให้สามารถปิดประเด็นได้ไม่เกิดความระแวงหรือสงสัยในอีกฝ่ายเหมือนการซื้อขายถ้าอีกฝ่ายมีข้อสงสัยแต่ไม่ยอมพูดก็จะทำให้การขายล่าช้าจนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังเมื่อเราฟังรายละเอียดต่างๆแล้วเราเกิดชอบขึ้นมาแต่เราไม่สามารถพูดออกไปได้ว่าชอบงานนี้อยากทำเลือกเราเถอะเราอาจจะใช้การแสดงความสนใจในสิ่งที่เขาพูดเพื่อให้เขารู้ว่าเราสนใจในงานที่เขาพูดมาจะทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจว่าเราสนใจในสิ่งที่เขาพูดเมื่อบริษัทถามข้อมูลเราที่เขาอยากรู้เราก็มีสิทธิถามข้อมูลที่เราอยากเหมือนกันและเมื่องานมีสิทธิเลือกเราเราก็มีสิทธิเลือกงานเหมือนกัน